Search
Close this search box.

การหยั่งธรณีหลุมเจาะ (E-log)

การหยั่งธรณีหลุมเจาะ (E-log)

การหยั่งธรณีหลุมเจาะเป็นการตรวจสอบคุณสมบัติทางฟิสิกส์และเคมีของชั้นดินชั้นหินหลังจากที่ทำการเจาะหลุมหรือบ่อน้ำบาดาล เพื่อยืนยันชนิดหินและความลึกของชั้นดินชั้นหิน ร่วมกับการตรวจสอบตัวอย่างดินและหินในขณะเจาะ ข้อมูลจากการหยั่งธรณีหลุมเจาะช่วยทำให้เลือกชั้นน้ำบาดาลได้ตามวัตถุประสงค์ได้ดียิ่งขึ้น

เครื่องหยั่งธรณีหลุมเจาะมีหลายประเภท ดังนั้นจึงต้องเลือกใช้ให้ถูกต้อง การเลือกชั้นน้ำบาดาลจากผลการหยั่งธรณี จำเป็นต้องมีมาตรฐานทั้งด้านเครื่องมือ ด้านบุคลากรผู้ปฏิบัติการในสนาม และผู้เชี่ยวชาญในการแปลความหมาย เครื่องหยั่งธรณีหลุมเจาะที่ได้มาตรฐานควรประกอบด้วย

* หัวหยั่งวัดศักย์ไฟฟ้า (SP)

* หัวหยั่งวัดกัมมันตรังสีธรรมชาติ (gamma)

* หัวหยั่งวัดความต้านทานไฟฟ้าจำเพาะ (R)

  – single point resistant, SPR

  – short-normal resistant, 16 inch

  – long-normal resistant, 64 inch

ประโยชน์ของการหยั่งธรณีหลุมเจาะ

* ทราบชนิดและความลึกของชั้นดิน ชั้นหิน และชั้นน้ำบาดาล รวมถึงคุณภาพน้ำบาดาลเบื้องต้น

* ใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาคัดเลือกชั้นน้ำบาดาลในการแยกสูบทดสอบชั้นน้ำ (packer test)

* ออกแบบบ่อน้ำบาดาล (well design) ประกอบด้วย การกำหนดตำแหน่งของท่อกรุและ
ท่อกรองน้ำ ตำแหน่งผนึกข้างบ่อ อุดกลบก้นบ่อ และวัสดุที่ใช้

Share This Article :